DeeZan ชุมชนคนรักดี(ซ่าน)
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.


แบ่งปัน สิ่งดีๆ สาระ ความรู้ สารพัน บันเทิง (ปี 8)
 
บ้านGalleryLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาล 6 (ประชาสันติ์) สังกัดเทศบาลเมืองเบตง จังหวัดยะลา

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
ผู้มาเยือน
ผู้มาเยือน




รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาล 6 (ประชาสันติ์) สังกัดเทศบาลเมืองเบตง จังหวัดยะลา Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาล 6 (ประชาสันติ์) สังกัดเทศบาลเมืองเบตง จังหวัดยะลา   รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาล 6 (ประชาสันติ์) สังกัดเทศบาลเมืองเบตง จังหวัดยะลา Icon_minitime21/12/2010, 21:24

เรื่อง รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาล 6
(ประชาสันติ์) สังกัดเทศบาลเมืองเบตง จังหวัดยะลา
ผู้ศึกษา นางกัลยา เจริญราษฎร์
ปีที่ศึกษา 2550

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาล 6 (ประชาสันติ์) สังกัดเทศบาลเมืองเบตง จังหวัดยะลา ในมิติการประเมินด้านบริบท (context evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (input evaluation) ด้านกระบวนการ (process evaluation) และด้านประเมินผลผลิต (product evaluation) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ครู จำนวน 16 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 136 คน และผู้นำนักเรียน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินได้แก่ 1) แบบสอบถาม เรื่อง การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนเทศบาล 6 (ประชาสันติ์) และ 2) แบบสัมภาษณ์ เรื่อง การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาล 6 (ประชาสันติ์)
ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนเทศบาล 6 (ประชาสันติ์) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.92) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมาก 3 ด้าน เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านผลผลิต ด้านกระบวนการ และด้านบริบท อยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน คือ ด้านปัจจัยนำเข้า
1. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ด้านบริบท ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถาม โดยการสอบถามครู ผู้ปกครองนักเรียน และผู้นำนักเรียน เกี่ยวกับการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนเทศบาล 6 (ประชาสันติ์) พบว่า ครู ผู้ปกครองนักเรียน และผู้นำนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 6 (ประชาสันติ์) มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ด้านบริบท อยู่ในระดับมาก ( = 4.04) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านย่อย พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านย่อย เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านย่อยความเหมาะสมของโครงการ ( = 4.18) ด้านย่อยความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ( = 4.04) ด้านย่อยนโยบายและจุดมุ่งหมาย ( = 4.09) และด้านย่อยความพร้อมของแหล่งบริการสุขภาพ ( = 3.84) และข้อมูลเชิงคุณภาพ จากแบบสัมภาษณ์ โดยการสัมภาษณ์ครู ผู้ปกครองนักเรียน และผู้นำนักเรียน เกี่ยวกับการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนเทศบาล 6 (ประชาสันติ์) ด้านบริบท พบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียส่วนใหญ่นั้น ได้รับรู้ถึงการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโดยโรงเรียนมีการให้ความสำคัญในด้านการประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนทราบในช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์โดยเสียงตามสาย การจัดบอร์ดประชาสัมพันธ์ การบอกกล่าวผู้ปกครองโดยผ่านครูประจำชั้นของนักเรียน ส่งผลให้ทุกคนทราบรายละเอียดในการดำเนินกิจกรรมของโครงการ และเห็นว่าโครงการส่งเสริมสุขภาพมีผลในการสนองตอบต่อความต้องการการมีสุขภาพดีของนักเรียนและชุมชน นอกจากนั้นในการจัดโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมีความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานในการจัดการศึกษา และทำให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการมีสุขภาพที่ดี และมีความตระหนักในสุขภาพของตนเองมากขึ้น
2. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ด้านปัจจัยนำเข้า ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถาม โดยการสอบถามครู ผู้ปกครองนักเรียน และผู้นำนักเรียน เกี่ยวกับการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนเทศบาล 6 (ประชาสันติ์) พบว่า ครู ผู้ปกครองนักเรียน และผู้นำนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 6 (ประชาสันติ์) มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ด้านปัจจัยนำเข้า อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านย่อย พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้านย่อย เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านย่อยบุคลากร ( = 3.67) ด้านย่อยงบประมาณ ( = 3.36) และด้านย่อยวัสดุอุปกรณ์ ( = 3.32) และข้อมูลเชิงคุณภาพ จากแบบสัมภาษณ์ โดยการสัมภาษณ์ครู ผู้ปกครองนักเรียน และผู้นำนักเรียน เกี่ยวกับการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนเทศบาล 6 (ประชาสันติ์) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า โรงเรียนได้มีการสนับสนุนปัจจัยนำเข้าที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยมีการจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ และยังได้รับการสนับสนุนงบประมาณบางส่วนจากสำนักงานเทศบาลเบตง ซึ่งในบางกิจกรรมมีหน่วยงานจากภายนอกเข้ามาสนับสนุนเนื่องจากมองว่าเป็นกิจกรรมที่ดีมีประโยชน์ต่อนักเรียนและชุมชน อีกทั้งโรงเรียนมีบุคลากรที่เพียงพอต่องานอนามัยโรงเรียนซึ่งเป็นบุคลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพเป็นอย่างดี อีกทั้งยังทำงานร่วมกันกับบุคลากรของสถานีอนามัยและผู้ปกครองในชุมชน และนอกจากนั้นโรงเรียนได้พิจารณางบประมาณในการสนับสนุนการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโดยการสำรวจจากความต้องการของครูและบุคลากรที่รับผิดชอบโครงการเพื่อให้ได้วัสดุอุปกรณ์ที่สอดคล้องและจำเป็นต้องใช้ในการดำเนินกิจกรรมทำให้โครงการสามารถดำเนินกิจกรรมไปด้วยดี
3. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ด้านกระบวนการ ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถาม โดยการสอบถามครู ผู้ปกครองนักเรียน และผู้นำนักเรียน เกี่ยวกับการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนเทศบาล 6 (ประชาสันติ์) พบว่า ครู ผู้ปกครองนักเรียน และผู้นำนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 6 (ประชาสันติ์) มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมาก ( = 4.09) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านย่อย พบว่า ด้านย่อยกิจกรรมในการดำเนินโครงการ ( = 4.11) มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินสูงกว่าด้านย่อยการวางแผน ( = 4.08) และข้อมูลเชิงคุณภาพ จากแบบสัมภาษณ์ โดยการสัมภาษณ์ครู ผู้ปกครองนักเรียน และผู้นำนักเรียน เกี่ยวกับการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนเทศบาล 6 (ประชาสันติ์) ด้านกระบวนการ พบว่า กิจกรรมต่าง ๆ ที่โรงเรียนได้ดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมีความหลากหลาย มีกระบวนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เริ่มต้นตั้งแต่การวางแผนในการจัดการโครงการ โดยการประชุมชี้แจงและมอบหมายงานอย่างชัดเจน จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานมีหลายฝ่าย คือ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้มีการรวบรวม/วิเคราะห์ปัญหาความต้องการเพื่อนำมาวางแผนการดำเนินงาน การกำหนดแผนงาน/กิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพไว้อย่างชัดเจนและครอบคลุม รวมถึงมีการคัดเลือกผู้นำนักเรียนเพื่อปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่หลังจากการวางแผนในการจัดการโครงการแล้ว โรงเรียนได้กำหนดและจัดกิจกรรมในการดำเนินการให้โครงการบรรลุไปตามวัตถุประสงค์ โดยมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายครอบคลุมงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอาทิเช่น การจัดกิจกรรมการบริการสุขภาพแก่นักเรียน การจัดกิจกรรมฝึกทักษะด้านการดูแลสุขภาพ การจัดมุมความรู้ การจัดนิทรรศการ การประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย การทดสอบสมรรถภาพนักเรียน เป็นต้น นอกจากนี้แล้วโรงเรียนยังให้ความสำคัญในการสนับสนุนส่งเสริมความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพแก่นักเรียนโดยการสอดแทรกลงไปในรายวิชาเรียน มีการเชิญวิทยากรจากภายนอกเข้ามาให้ความรู้ จัดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพให้สะอาด ปลอดเชื้อโรค รวมถึงการจัดการด้านสถานที่ในโรงเรียนให้สะอาด
4. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ด้านผลผลิต ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถาม โดยการสอบถามครู ผู้ปกครองนักเรียน และผู้นำนักเรียน เกี่ยวกับการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนเทศบาล 6 (ประชาสันติ์) พบว่า ครู ผู้ปกครองนักเรียน และผู้นำนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 6 (ประชาสันติ์) มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ด้านผลผลิต อยู่ในระดับมาก ( = 4.09) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านย่อย พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านย่อยเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านย่อยผลกระทบต่อโครงการ ( = 4.19) ด้านย่อยภาวะสุขภาพอนามัยของนักเรียน ( = 4.06) และด้านย่อยความรู้ด้านสุขภาพอนามัยของนักเรียน ( = 4.04) และข้อมูลเชิงคุณภาพ จากแบบสัมภาษณ์ โดยการสัมภาษณ์ครู ผู้ปกครองนักเรียน และผู้นำนักเรียน เกี่ยวกับการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนเทศบาล 6 (ประชาสันติ์) ด้านผลผลิต พบว่า กิจกรรมต่าง ๆ ที่โรงเรียนได้ดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ส่งผลทำให้นักเรียนและบุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความรู้ด้านสุขภาพอนามัย ด้านการดูแลสุขภาพ การป้องกันโรค การป้องกันอุบัติเหตุและสิ่งเสพติด การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และการลดความเสี่ยงทางเพศ ซึ่งสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ การดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพส่งผลทำให้นักเรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลายมีสุขภาพร่างกายที่ดีมีพฤติกรรมสุขภาพที่น่าพึงพอใจ มีผลภาวะสุขภาพอนามัยของนักเรียนและบุคลากรที่น่าพึงพอใจ ทำให้ปัจจุบันนักเรียนและบุคลากรมีสุขภาพอนามัยดีขึ้นรวมไปถึงสุขภาพอนามัยของผู้ปกครอง/ชุมชนด้วย และผลจากการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ทำให้โรงเรียนได้พบว่าสถิติการขาดเรียนของนักเรียนลดลง มีอุบัติเหตุในโรงเรียนหรือชุมชนน้อยลง ผู้ปกครอง/ชุมชนทราบผลการดำเนินงานและให้การสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนและผลการดำเนินงานของโครงการนี้มีประโยชน์สมควรดำเนินโครงการต่อไป
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาล 6 (ประชาสันติ์) สังกัดเทศบาลเมืองเบตง จังหวัดยะลา
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
DeeZan ชุมชนคนรักดี(ซ่าน) :: ความรู้ต่างๆ วรรณกรรม บทความ นวนิยาย นิยาย กลอนเพราะ และอื่นๆ :: เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ-
ไปที่: